วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552

คำอธิบายเกี่ยวกับบุพเพสันนิวาส เนื้อคู่คู่ครองคู่กรรม และเหตุที่ผิดหวัง

เหตุแห่งความรัก

ปุถุชน ผู้ยังละกิเลสไม่ได้ เกิดมาก็ย่อมต้องมีความรักทั้งหญิงและชาย พระพุทธเจ้าทรงแสดงเหตุที่ทำให้หญิงชายรู้สึกรักกันไว้ใน สาเกตชาดก พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ดังนี้

“ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เหตุไรหนอ เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้พอเห็นกันเข้าก็เฉย ๆ หัวใจก็เฉย บางคนพอเห็นกันเข้า จิตก็เลื่อมใส ”

“ ความรักนั้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยการอยู่ร่วมกัน ในกาลก่อน ๑ ด้วยความเกื้อกูลต่อกันในปัจจุบัน ๑ ”

เหมือนดอกอุบลและชลชาติ เมื่อเกิดในน้ำ ย่อมเกิดเพราะอาศัยเหตุ ๒ประการ คือน้ำและเปือกตม ฉะนั้น ”

จึง จะเห็นว่าการที่หญิงชายมารักกัน ชอบกัน และอาจได้อยู่ร่วมกันนั้นไม่ใช่เหตุบังเอิญ แต่มีปัจจัยมาจาก ๒ ประการดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเหตุให้รู้ แต่ก็ยังมีข้อสงสัยที่เกี่ยวเนื่องกับความรัก คู่ครอง เนื้อคู่ ฯลฯ อีกมากมาย

คู่

บุพเพ สันนิวาส คือ การได้เคยอยู่ร่วมกันในอดีตชาติ จนส่งผลให้ได้มาเป็นคู่ครองกันในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่จะคิดว่าเคยอยู่ร่วมกันเป็นสามีภรรยาเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วบุพเพสันนิวาสหมายถึงการที่อาจจะได้อยู่ร่วมกันในฐานะอื่นก็ ได้ เช่น พี่กับน้อง พ่อกับลูก แม่กับลูก เพื่อครูกับศิษย์ นายกับบ่าว เป็นต้น การที่มีบุพเพสันนิวาสร่วมกันนี้เมื่อเกิดมาร่วมกัน ก็มักจะสร้างบุญสร้างกุศลร่วมกันมา ทำอะไรตามกัน มีความเห็นสอดคล้องกัน ทำให้อยู่ด้วยกันแล้วมีความสุข

เนื้อคู่ คือ หญิงและชายที่เคยได้ใช้ชีวิตร่วมกัน เป็นสามีภรรยากันมาก่อนในอดีตชาติ

คู่ครอง คือ หญิงและชายที่ใช้ชีวิตร่วมกัน เป็นสามีภรรยากันในชาติปัจจุบัน

คู่ กรรม คือ หญิงและชายที่ใช้ชีวิตร่วมกันเป็นสามีภรรยา แต่มักไม่มีความสุข เนื่องจากการมาอยู่ร่วมกันนั้นเกิดจากวิบากของกรรมที่ทำร่วมกันหรือวิบาก กรรมที่มีต่อกันมาส่งผล เช่น อาจเคยทำบาปร่วมกัน หรือเคยเป็นศัตรูกันมาก่อนเป็นต้น

คู่บารมี คือ เนื้อคู่ที่ได้ติดตามกันมา ส่งเสริมกันและกันในทางที่ดี ได้ใช้ชีวิตร่วมกันในฐานะสามีภรรยาร่วมกันนับชาติไม่ถ้วน และจะติดตามกันต่อไปจนกว่าจะสามารถหลุดพ้นจากวัฏสงสารได้ มักใช้คำนี้กับพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีกับเนื้อคู่ลำดับ ๑ ที่จะได้เป็นคู่ครองกับในชาติสุดท้าย

เหตุแห่งการได้อยู่ร่วมกัน

ดังที่พระพุทธองค์ได้แสดงเหตุที่หญิงชายได้รักและได้เป็นสามีภรรยากันนั้นมี ๒ ปัจจัย คือ

• การได้อยู่ร่วมกันในกาลก่อน

• การได้เกื้อหนุนกันในชาติปัจจุบัน

เนื่อง จากวัฎสงสารยาวไกลจนหาจุดเริ่มต้นและที่สุดไม่ได้ หญิงชายแต่ละคนจึงมีเนื้อคู่มากมายเป็นแสนคน แต่ละชาติที่เกิดมาก็อาจได้พบเจอเนื้อคู่ได้หลาย ๆ คนพร้อมกัน หรืออาจไม่ได้เจอเนื้อคู่เลยสักคนก็เป็นได้ กรณีที่ไม่เจอเนื้อคู่เลยนั้น หญิงชายนั้นก็อาจมีคู่ได้กับบุคคลใกล้ชิดที่ได้เกื้อหนุนกันในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อได้เป็นคู่กันในปัจจุบันแล้วหญิงชายนั้นก็จะได้เป็นเนื้อคู่กันต่อ ไป

ลำดับของเนื้อคู่

เพราะ เหตุที่แต่ละคนมีเนื้อคู่จำนวนมากมาย จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าแล้วใครกันเล่าที่สมควรจะได้อยู่เป็นคู่ครองกันมากที่ สุด และจะมีวิธีการเลือกอย่างไร แม้จะมีเนื้อคู่ จำนวนมากมาย แต่จะมีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่เมื่ออยู่ร่วมกันแล้วมีความสุขที่สุด เมื่อพบหน้ากันแล้วไม่อาจตัดใจรักให้ขาดจากกันได้ บุคคลนี้คือเนื้อคู่ที่ได้อยู่ร่วมกันมามากที่สุดเป็นแสนเป็นล้านชาติ เป็นเนื้อคู่ลำดับที่ ๑

กฎแห่งกรรมจะจัดสรรการมีคู่ไว้ให้ เราเรียบร้อย คือ หากเรามีเนื้อคู่เกิดมาพร้อมกัน ใจเราจะเป็นผู้เลือกเนื้อคู่ลำดับต้นเสมอ เมื่อเลือกแล้วคู่ลำดับอื่นเขาจะหลีกทางและไปหาคู่ของเขาต่อไป แต่กฎแห่งกรรมอีกเช่นกัน ที่บางชาติ กลับทำให้คู่ลำดับต้น ๆ ได้มาพบกันทีหลังหลังจากที่อีกฝ่ายได้เลือกคู่ครองไปแล้วซึ่งแม้จะได้พบกัน ทีหลัง แต่เพราะเป็นคู่ลำดับต้น จิตใจของทั้งคู่ก็จะร้อนรนทนไม่ไหว จึงต้องรักกันอีกครั้งซึ่งความรักครั้งนี้ต้องหัก ต้องบังคับฝืนใจกันอย่างเต็มกำลัง กล่าวกันว่าแม้พระภิกษุผู้มั่นคงในศีล เมื่อได้เจอเนื้อคู่ลำดับต้น ๆ ยังทนไม่ได้ ต้องสึกหาลาเพศมาอยู่กับเนื้อคู่ของตนจนได้

เหตุ ที่เนื้อคู่ลำดับต้นมาเกิดในชาติภพเดียวกัน แต่กลับไม่สมกันนั้น มีเหตุเดียว คือ กรรมพลัดพรากได้มาส่งผลเป็นวิบากแก่ทั้งคู่อย่างร้ายแรง หากกรรมนั้นใกล้จะหมดผลเขาทั้งสองก็อาจได้เป็นคู่ครองกันในชาตินั้น แต่หากกรรมนั้นยังรุนแรงอยู่ทั้งสองก็ต้องทนทุกข์ทรมานชดใช้กรรมนั้นให้หมด แล้วจึงจะได้มีวาสนาอยู่ร่วมกันในชาติต่อ ๆ ไป

เหตุที่อกหักผิดหวังในความรัก

นอก จากการผิดหวังจากเนื้อคู่ลำดับต้น ๆ ซึ่งเกิดจากกรรมพลัดพรากแล้ว บางครั้งคนเราก็อาจต้องผิดหวังในความรัก โดยมีเหตุมาจากกรรมทั้งสิ้น คืออยู่กับคู่ครองไม่มีความสุข ทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นประจำหรือมีปัญหาให้ทุกข์ใจตลอด เหตุที่เป็นดังนี้ แสดงว่าคู่ครองนั้นไม่ใช่เนื้อคู่ลำดับที่ ๑-๕ เนื่องจากกรรมจากการเป็นคนไม่ดี ไม่มีศีลธรรมส่งผลให้ไม่ได้พบเนื้อคู่ลำดับต้น ๆ

หรืออาจเป็นเพราะ ทั้งสองไม่ใช่เนื้อคู่กัน แต่ทั้งคู่เป็นศัตรูคู่อาฆาต ได้เคยผูกใจเจ็บกันมา ชาตินี้จึงต้องมาแก้แค้นกันเอง และแรงอาฆาตได้ผลักดันให้ทั้งสองมาอยู่ร่วมกัน และแก้แค้นกันเองตามแรงอาฆาตนั้น

หรือบางคนรักเขาข้างเดียว อกหักบ่อยครั้ง โดยที่อีกฝ่ายไม่ได้สนใจด้วยเลย เหตุนี้เกิดขึ้นเนื่องจากอดีตชาติเคยอาฆาตเขาไว้ แต่เขาไม่ได้อาฆาตตอบและไม่ได้ถือโกรธด้วย ชาตินี้จึงต้องทนทุกข์ทรมานเพราะเขาอยู่เพียงฝ่ายเดียว อย่างนี้ไม่ได้เป็นเนื้อคู่ เป็นเพียงคู่กรรมเท่านั้น

ทำอย่างไรจึงจะได้อยู่ร่วมกัน

เมื่อ ความรักหวานชื่น คู่ครองทั้งหลายย่อมต้องอยากเกิดมาเป็นเนื้อคู่กันอีก ซึ่งผลกรรมก็ได้จัดสรรการเกิดมาเป็นคู่ครองกันอีกตามที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่นอกจากการรอให้กรรมเป็นตัวจัดสรรแล้ว เรายังสามารถเลือกที่จะได้พบและอยู่เป็นคู่ครองกับเนื้อคู่ของเราได้ในอนาคต โดยการอธิษฐาน แต่แม้จะมีอธิษฐานร่วมกัน สุดท้ายการได้อยู่ร่วมกันก็ยังต้องขึ้นอยู่กับกฎแห่งกรรมอยู่ดี

การ อธิษฐานนั้นมีทั้งประโยชน์และโทษคือ ในด้านประโยชน์ ทำให้เนื้อคู่ทั้งสองมีโอกาสกลับมาเป็นคู่ครองกันในชาติต่อ ๆไป ได้ง่าย แต่ในแง่ของโทษ บางครั้งก็ทำให้การใช้ชีวิตไม่เป็นปกติสุข เช่น หากเนื้อคู่ที่อธิษฐานกันไว้ไม่ได้มาเกิด หรือมาเ กิดแล้วแต่ยังไม่ได้พบกัน ฝ่ายที่รออยู่จะไม่สามารถมีคู่ได้ จิตใจไม่รักใคร หรือแม้จะได้พบเนื้อคู่ลำดับต้น ๆ แต่ก็มีเหตุให้ไม่สมหวังทุกครั้งไป เนื่องจากแรงอธิษฐานนั้นฉุดรั้งไว้ หรือบางครั้งจิตใจมีสังหรณ์อยู่เสมอว่ารอคอยใครอยู่ ทั้งที่ไม่รู้ว่ารอคอยใคร

การแก้ปัญหาเรื่องอธิษฐาน

หาก แน่ใจว่าเนื้อคู่ที่อธิษฐานกันไว้คงไม่ได้พบเจอกันแน่แล้ว หรืออยากจะปล่อยวางเพื่อมีโอกาสได้ตัดสินใจกับเนื้อคู่ลำดับอื่น สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงอธิษฐานขออนุญาตเนื้อคู่ว่า ขอละคำอธิษฐานนั้น ขอให้ชีวิตได้พบเนื้อคู่ที่สมกัน และได้ใช้ชีวิตคู่อย่างปกติและมีความสุข

คู่บารมี

สุด ท้ายคือเรื่องของคู่บารมี เป็นคู่สำคัญ เป็นคู่ที่ยาวนาน เพราะต้องร่วมกันสร้างบารมีขณะที่ฝ่ายหนึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเนื้อคู่ที่จะเคียงข้างกันไป การเป็นพระโพธิสัตว์นั้นต้องการกำลังใจที่เข้มแข็ง มั่นคง และเสียสละความสุขทั้งปวงเพื่อประโยชน์ของสัตว์โลก พระโพธิสัตว์นั้นต้องใช้เวลายาวนานมากในการสร้างบุญบารมีกว่าที่จะสามารถ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ อย่างเร็วที่สุดก็ต้องใช้เวลาถึง ๒๐ อสงไขยกับเศษแสนมหากัป และอย่างช้าก็เนิ่นนานจนถึง ๘๐ อสงไขยกับเศษแสนมหากัปเลยทีเดียว

คนที่ตั้งใจเป็นคู่บารมีจึงต้อง มีความเสียสละและเด็ดเดี่ยวไม่แพ้กันบุคคลผู้ปรารถนาเป็นคู่บารมีนั้น จะเป็นผู้ที่ได้ช่วยเหลือเกื้อกูลกันมากที่สุดได้เป็นคู่ครองกันมากที่สุด และเป็นเนื้อคู่ลำดับ ๑ อย่างเที่ยงแท้

การเป็นคู่บารมีนั้นลำบาก มากยิ่งนัก เพราะคนเป็นคู่บารมีนั้นจะต้องพบกับสิ่งต่อไปนี้ คือ ต้องเกิดเป็นผู้หญิง ไม่ได้เกิดเป็นผู้ชาย ต้องช่วยพระโพธิสัตว์ทำงานอย่างเต็มกำลัง ในบางชาติอาจต้องร่วมสร้างบารมีกับพระโพธิสัตว์ เช่น ต้องสละชีวิตร่วมกัน ต้องถูกบริจาคลูก หรือตัวเองเพื่อเสริมบารมีให้พระโพธิสัตว์ เป็นต้น ตราบใดที่พระโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คู่บารมีนั้นก็ยังไม่มีโอกาสบรรลุโลกุตรธรรมได้

วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2552

ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

คำชี้แจง

เปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก มีคำกล่าวในหนังสือนำว่า ผู้ใดมีไว้ประจำบ้านเรือนมีอานิสงส์
ยิ่งได้สร้างพระเจดีย์ทองคำสูงเทียมเทวโลก และป้องกันภยันตรายต่างๆ ทำมาหากินเจริญฯ

ประวัติกล่าวไว้ต้นฉบับเดิมว่า

หนังสือยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ มีคำกล่าวไว้ในหนังสือนำว่าศักดิ์สิทธิ์ ถ้าผู้ใดได้สวดมนต์
ภาวนาทุกคำเช้าแล้ว ผู้นั้นจะไม่ตกไปอบายภูมิ แม้ได้บูชาไว้กับบ้านเรือนก็อาจป้องกันอันตรายต่างๆ
จะภาวนาพระคาถาอื่นสัก 100 ปี อานิสงส์ก็ไม่เท่าภาวนาคาถานี้ครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่า อินท์
พรหม ยม ยักษ์ ที่มีอิทธิฤทธิ์จะเนรมิตแผ่นอิฐเป็นทองคำก่อเป็นพระเจดีย์ ตั้งแต่มนุษย์โลกสูงขึ้น
ไปจนถึงพรหมโลก อานิสงส์ก็ยังไม่เท่าภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ และมีคำอธิบายคุณความดีไว้
ในฉบับเดิมอีกหลายประการ

ต้นฉบับเดิมเปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก เป็นอักษรขอมจารึกไว้ในใบลานจึงแปลเป็นอักษรไทย
พระภิกษุแสง (หลวงธรรมาธิกรณ์) ได้มาแต่พระแท่นศิลาอาสน์ มณฑลพิษณุโลก

ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกความว่าดังนี้

๑. อิติปิโสภะคะวา อะระหัง วัจจะโสภะคะวาฯ อิติปิโสภะคะวา สัมมาสัมพุทธโธ วัจจะโส
ภะคะวาฯ อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน วัจจะโสภะคะวาฯ อิติปิโสภะคะวา สุคะโต
วัจจะโสภะคะวาฯ อิติปิโสภะคะวา โลกะวิทู วัจจะโสภะคะวาฯ

๒. อะระหังตัง สะระณังคัจฉามิ อะระหันตัง สิระสานะมามิ สัมมาสัมพุทธัง สะระณังคัจฉามิ
สัมมาสัมพุทธัง สิระสานะมามิ วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระณังคัจฉามิ วิชชาจะระณะสัมปันนัง
สิระสานะมามิ สุคะตัง สะระณังคัจฉามิ สุคะตัง สิระสานะมามิ โลกะวิทัง สะระณังคัจฉามิ โลกะวิทัง
สิระสานะมามิ

๓. อิติปิโสภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะโสภะคะวาฯ อิติปิโสภะคะวา ปุริสะธัมมะสาระถิ
วัจจะโสภะคะวาฯ อิติปิโสภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง วัจจะโสภะคะวาฯ อิติปิโสภะคะวา
พุทโธ วัจจะโสภะคะวาฯ

๔. อะนุตตะรัง สะระณังคัจฉามิ อะนุตตะรัง สิระสานะมามิ ปุริสะธัมมะสาระถิ สะระณัง
คัจฉามิ ปุริสะธัมมะสาระถิ สิระสานะมามิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง สะระณังคัจฉามิ สัตถาเทวะ
มะนุสสานัง สิระสานะมามิ พุทธัง สะระณังคัจฉามิ พุทธัง สิระสานะมามิ อิติปิโสภะคะวาฯ

๕. อิติปิโสภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโสภะคะวาฯ
อิติปิโสภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโสภะคะวาฯ อิติปิโส
ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโสภะคะวาฯ อิติปิโสภะคะวา
สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโสภะคะวาฯ อิติปิโสภะคะวา วิญญาณะ
ขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโสภะคะวาฯ

๖. อิติปิโสภะคะวา ปะฐะวีจักกะวาละ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ
สัมปันโนฯ อิติปิโสภะคะวา เตโชจักกะวาละ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ
อิติปิโสภะคะวา วาโยจักกะวาละ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโส
ภะคะวา อาโปจักกะวาละ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโสภะคะวา
อากาสะ จักกะวาละ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ

๗. อิติปิโสภะคะวา ยามา ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโสภะคะวา ตุสิตา ธาตุสัมมา
ทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโสภะคะวา นิมมานะระติ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโสภะคะวา
กามาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโสภะคะวา รูปาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ

๘. อิติปิโสภะคะวา ปะฐะมะฌานะ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโสภะคะวา ทุติยะฌานะ
ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโสภะคะวา ตะติยะฌานะ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโส
ภะคะวา จะตุตถะฌานะ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ

๙. อิติปิโสภะคะวา ปัญจะมะฌานะ อากาสานัญจายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ
อะรูปาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ
อิติปิโสภะคะวา ฉะถะมะฌานะ วิญญานัญจายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ
อะรูปาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ
อิติปิโสภะคะวา สัตตะมะฌานะ อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ
อะรูปาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ
อิติปิโสภะคะวา อัฎฐะมะฌานะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ อะรูปาวะจะระ ธาตุสัมมา
ทิยานะสัมปันโนฯ

๑๐. อิติปิโสภะคะวา โสตาปัตติมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโสภะคะวา สะกิทา
คามิปัตติมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโสภะคะวา อะนาคามิปัตติมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ
สัมปันโนฯ อิติปิโสภะคะวา อะระหัตตะปัตติมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ

๑๑. อิติปิโสภะคะวา โสตาอะระหัตตะปัตติผะละ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโส
ภะคะวา สะกิทาคามิ อะระหัตตะปัตติผะละ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโสภะคะวา อะนาคามิ
อะระหัตตะปัตติผะละ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ

๑๒. กุสะลาธัมมา อิติปิโสภะคะวา อะอายาวะชีวัง พุทธัง สะระณังคัจฌามิ ชมพูทิปัญจะ
อิสะโร กุสะลาธัมมา นะโมพุทธายะ นะโมธัมมายะ นะโมสังฆายะ ปัญจะพุทธานะมามิหัง อาปามะ
จุปะทีมะสังอังคู สังวิธาปุกะยะปะ อุปะสะชะสุ เหปาสายะโสโสสะสะ อะอะอะอะนิ เตชะสุเนมะ
ภูจะนาวิเว อะสังวิสุโรปุสะภุพะ อิสะวาสุสุสะวาอิ กุสะลาธัมมา จิตติวิอัตถิฯ

๑๓. อิติปิโสภะคะวา อะระหัง อะอายาวะชีวัง พุทธัง สะระณังคัจฌามิ สาโพธิปัญจะอิสะ
โรธัมมาฯ

๑๔. กุสะลาธัมมา นันทะวิวังโก อิติสัมมาสัมพุทโธ สุคะลาโนยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง
คัจฌามิ จาตุมะหาราชิกา อิสะโรกุสะลาธัมมา อิติวิชชาจะระนะสัมปันโน อุอุยาวะ ตาวะติงสาอิสะโร
กุสะลาธัมมา นันทะปัญจะสุคะโตโลกะวิทู มะหาเอโอยาวะชีวัง พุทธัง สะระณังคัจฌามิ ยามาอิสะโร
กุสะลาธัมมา พรหมมา สัททะปัญจะสัตตะ สัตตาปาระมีอะนุตตะโร ยะมะกะขะยาวะชีวัง พุทธัง
สะระณังคัจฌามิฯ

๑๕. ตุสิตาอิสะโร กุสะลาธัมมา ปุยะปะกะปุริสะธัมมะสาระถิ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง
คัจฌามิฯ

๑๖. นิมมานะระติอิสะโร กุสะลาธัมมา เหตุโปวะ สัตถาเทวะมะนุสสานัง ตะถะยาวะชีวัง
พุทธัง สะระณังคัจฌามิฯ

๑๗. ปะระนิมมิตตะอิสะโร กุสะลาธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รุปะขันโธ
พุทธัง ปะผะยาวะชีวัง พุทธัง สะระณังคัจฌามิฯ

๑๘. พรหมมาอิสะโร กุสะลาธัมมา นัจจิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะนิพพานัง
สะระณังคัจฌามิ นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ พุทธิลาโลกะลากะระกะนา เอเตนะ
สัจเจนะ สุวัตถิโหนตุ หุลู หุลู หุลู สวาหายะฯ

๑๙. นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสะ วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ
อัตติ อัตติ มะยะสุ สุวัจถิโหนตุ หุลู หุลู สวาหายะฯ

๒๐. อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พรหมมะสาวัง มะหาพรหมมะสาวัง จักกะวัตติสาวัง
มะหาจักกะวัตติสาวัง เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง
สัปปุริสาวัง มะหาสัปปุริสาวัง พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง อะระหัตตะสาวัง สัพพะ สิทธิ
วิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกา อิริยานังสาวัง เอเตนะสัจเจนะสุวัตถิโหนตุ

๒๑. สาวังคุณัง วะชะพะลังเตชัง วิริยังสิทธิกัมมัง นิพพานัง โมกขังคุยหะกังถานังสีลัง
ปัญญานิกขัง ปุญญัง ภาขะยัง ตัปปังสุขังสิริรูปัง กุวิสะสะติเสนัง เอเตนะสัจเจนะสุวัตถิโหนตุ หุลู
หุลู หุลู สวาหายะฯ

๒๒. นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ
สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม อิติปิโสภะคะวา

๒๓. นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ
สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สะวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม

๒๔. นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ
สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สะวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม

๒๕. นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ
สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

๒๖. นะโม สังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ
สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตังฯ

๒๗. นะโมพุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ยาวะตัสสะหาโย นะโม อุอะมะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา อุอะมะอา วันทา นะโมพุทธายะ นะอะกะตินิสะระนะ อาระปะขุธัง
มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตาฯ จบแลฯ